นวัตกรรมในอนาคตของห้องสมุด

Barbara K. Stripling พูดถึงอนาคตของห้องสมุดไว้ใน american.libraries มีอะไรหลายๆ อย่าง น่าคิดตาม ที่แฝงมาบทความนี้

จากการถูกสอบถามเรื่องอนาคตของห้องสมุดจะเป็นอย่างไรในยุคของเทคโนโลยีสมัยนี้  เมื่อถูกถามแบบนี้ ฉัน (Barbara) ได้ตอบไปว่า ห้องสมุดก็ต้องเปลี่ยนไปในทางที่น่าสนใจด้วยเช่นกัน แต่จะเป็นอะไรล่ะ

ห้องสมุดทุกประเภท กำลังคิดถึงนวัตกรรมในการเปลี่ยนแปลงทรัพยากร การสอน การโปรแกรม และการให้บริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ที่เกิดขึ้นและเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ นวัตกรรมใดที่ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดมหาวิทยาลัย และห้องสมุดเฉพาะต้องใช้ และเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเป็นนวัตกรรมที่แท้จริงสำหรับห้องสมุด


ห้องสมุดต้องมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อความร่วมมือและเพื่อการเรียนรู้  ในการสร้างสิ่งเรียนรู้โดยทั่วไป และการเป็นผู้หาพื้นที่ การผลักดันบริการต่างๆ สู่สังคม  การให้โอกาสการเรียนรู้แบบเสมือน การหากิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น เกมส์ การผลิตวิดีทัศน์ การสนทนาในชุมชน เป็นต้น

บรรณารักษ์ก็ต้องมีการปรับโฉมความคิดของ “ทรัพยากรห้องสมุด” โดยการสร้างสมดุลระหว่างสิ่งพิมพ์และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ การจัดตั้งห้องสมุดที่ปราศจากหนังสือ การจัดหาวัสดุที่มีหลากหลายรูปแบบ การจัดหาเครื่องมือ เทคโนโลยี ซอฟต์แวร์ที่ให้ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถมีส่วนร่วมได้อย่างกระตือรือร้นในโลกของสารสนเทศนี้ การให้ยืมสารสนเทศที่เดิมไม่เคยให้ยืม และการสงวนรักษาหรือการดูแลงานฝีมืออันเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่น

การสอนจะมีความโดดเด่นอย่างเห็นได้ชัด ในบทบาทของบรรณารักษ์ที่จำเป็นต้องเข้าใจความต้องการของสมาชิกในสังคม ในอันที่จะพัฒนาการรู้สารสนเทศเพื่อให้เข้าใจและใช้สารสนเทศผ่านสื่อหลากหลายรูปแบบได้อย่างถูกต้อง การเรียนการสอนแบบเผชิญหน้าจะเปลี่ยนไป ด้วยการเชื่อมโยงที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยความร่วมมือ และการแพร่กระจายความรู้ ห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นผู้มีส่วนในการสำรวจเส้นทางใหม่ๆ ในการส่งต่อความรู้ ส่งต่อโอกาสทางการศึกษาผ่านเทคโนโลยีเคลื่อนที่ การใช้เครื่องมือทางสังคม การเรียนทางไกล และ MOOCs (Massive Open Online Courses)

ความคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมเหล่านี้น่าสนใจและสามารถนำไปใช้ได้อย่างง่าย เราควรวัดความสำคัญของคนในชุมชนและความท้าทายเพื่อที่จะเป็นสมมุติฐานเกี่ยวกับวิธีที่ดีที่สุดที่จะตอบสนองความสำคัญเหล่านั้น ก่อนการนำไปใช้ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตามในห้องสมุด เราควรถามตัวเราเองก่อนด้วยคำถามเหล่านี้ว่า (คำถามเหล่านี้ ปรับมาจาก Lisa Bodell จากบทความที่ตีพิมพ์ใน Forbes ฉบับ 4 เดือนตุลาคม เรียกว่า called “10 Disruptive Questions for Instant Innovation”)

1. เราจะทำอะไร เราเชื่อความต้องการของผู้ใช้? อะไรที่จะเป็นเรื่องจริง?
2. หลักอะไรที่เราต้องถือไว้เสมอว่าเราต้องการส่งผ่านห้องสมุดของเราเพื่อประยุกต์ถึงความเปลี่ยนแปลง?
3. เราต้องเสนอบริการเด่นอะไร และโอกาสใดให้ชุมชนของเรา?
4. ถ้าเราสามารถทำงานได้เพียงนวัตกรรมเดียวสำหรับในปีต่อไป มันจะเป็นอย่างไร? แล้วทำไม?

ขณะที่เราคิดถึงการส่งถ่ายทอดนวัตกรรมของห้องสมุดนี้ สมาคมห้องสมุดอเมริกันกำลังจัดตั้ง Center for the Future of Libraries โดยการสนับสนุนทุนในปีเริ่มต้นจาก Insititute of Museum and Library Services ศูนย์ฯ นี้จะจัดหาทรัพยากรและเครื่องมือเพื่อช่วยพวกเราให้เข้าใจถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น ซึ่ง Alan Kay กล่าวว่า วิธีที่ดีที่สุดในการคาดการณ์อนาคตก็คือ การประดิษฐ์ขึ้นมา ผ่านศูนย์นี้ สมาคมห้องสมุดอเมริกันจะช่วยพวกเราในการประดิษฐ์อนาคตของห้องสมุด

รายการอ้างอิง:

Stripling, Barbara K. 2013. The Future of Libraries. Retrived 28 Apr 2014 from http://www.americanlibrariesmagazine.org/article/future-libraries

Leave a comment