วันนี้ สืบค้นเกี่ยวกับงานวิจัยทางอินเทอร์เน็ตไปเรื่อย มาพบข้อมูลเกี่ยวกับ การเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการนานาชาติ การเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ พออ่านเอกสารเหล่านั้นแล้ว ทำให้นึกถึงคำถามที่ได้รับเมื่อหลายปีก่อน ถึงขอบเขตของชื่อผู้เขียนบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิจัย ที่มีการกำกับว่าเป็น Corresponding author เลยทำให้คิดว่า บรรณารักษ์หรือนักเอกสารสนเทศที่ควรจะทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนนักวิจัยนั้น ควรจะมีความรู้อื่นๆ เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ไว้ด้วย นอกเหนือจากการเป็นผู้เชี่ยวชาญในการสืบค้น การเป็นผู้รอบรู้ฐานข้อมูลต่างๆ ที่จะช่วยแนะนำนักวิจัย ฯลฯ
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้จัดทำและเผยแพร่ มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ คณะผู้จัดทำเป็นทีมงานจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งล้วนแต่มีชื่อเป็นนักวิจัยทั้งสิ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางให้แก่นักวิจัยและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนได้รับทราบและสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องในการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ เพื่อให้ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการของไทยเป็นที่ยอมรับระดับสากล และหน่วยงานสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละหน่วยงานได้ ขอนำชื่อแต่ละบทมานำเสนอว่า ภายในเล่มมีเนื้อหาที่ควรรู้ในเรื่องอะไรบ้าง
- ความเป็นผู้นิพนธ์ (Authorship)
- ความถูกต้องของข้อมูล (Data Integrity)
- การจัดการรูปภาพ (Image Handling)
- การลอกเลียนโดยมิชอบ (Plagiarism)
- เอกสารอ้างอิง (Reference) และ การอ้างอิง (Citation)
- ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest)
- ความลับและความเป็นส่วนตัว (Privacy and Confidentiality)
- การเผยแพร่ซ้ำ (Redundant publication)
- การตีพิมพ์แบ่งย่อย (Salami Publication)
- การส่งบทความวิจัยตีพิมพ์มากกว่าหนึ่งวารสาร (Simultaneous Submission)
- การเลือกข้อมูลส่งตีพิมพ์ (Selective Publication)
- การสื่อสารโต้ตอบระหว่างผู้วิจัย (Correspondences)
- การถอนบทความ (Retraction of Publication)
- การขึ้นทะเบียนงานวิจัยทางคลินิก (Clinical Trial Registration)
ในแต่ละส่วนจะให้คำนิยาม หลักการและเหตุผล และแนวทางการปฏิบัติ Continue reading