การลงรายการทางบรรณานุกรมของหนังสือ เขตข้อมูล 505 ซึ่งเป็นเขตข้อมูลสารบัญ บรรณารักษ์มักจะใส่สารบัญของหนังสือ เนื่องจากในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เขตข้อมูล 505 จะถูกกำหนดให้เป็น index หรือสืบค้นได้ (แต่เดิมเมื่อครั้งเป็นบัตรรายการ เขตข้อมูลสารบัญ คงทำหน้าที่เป็นเพียงบอกว่า หนังสือเรื่องนั้นประกอบด้วยเนื้อหาอะไรบ้าง แต่ไม่สามารถค้นด้วยคำในบัตรรายการได้) ทำให้เป็น access point ที่ดีที่ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเนื้อหาที่ต้องการได้
การใส่สารบัญใน 505 สามารถลงข้อมูลเป็นแบบสมบูรณ์ หรือแบบย่อ หรือลงเป็นบางส่วน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้ลงรายการ หรือจะลงเป็นแบบการเลือกคำ ก็ไม่ผิดกติกาอะไร ยังจำได้เมื่อตอนเล่นโปรแกรม CDS/ISIS ในการกำหนดคำค้นเป็น index ด้วยเทคนิคต่างๆ จะมีอยู่วิธีหนึ่ง ด้วยการใช้ เครื่องหมาย <….> คร่อมคำหรือข้อความที่ให้ระบบเก็บเป็นคำค้น วิธีนี้ไฟล์ที่เก็บคำค้นก็จะไม่ใหญ่มาก การประมวลคำค้นก็จะทำได้รวดเร็ว
กรณีที่สารบัญมีจำนวนมาก การพิมพ์สารบัญด้วยภาษาไทย อาจจะมีปัญหาเรื่องความยาวของเขตข้อมูลที่สามารถบันทึกข้อมูลได้ ทำให้เป็นเรื่องชวนคิดว่า ถ้าพิมพ์สารบัญ (ภาษาไทย) ยาวๆ แล้ว อาจจะมองเป็นพรืดดูเต็มหน้าแสดงผลไปหมด อาจจะปรับวิธีการลงสารบัญได้ เป็นการลงแบบย่อ ข้อความที่เป็นวลี หรือข้อความที่พิจารณาแล้วว่าไม่มีความจำเป็นในการทำเป็น index ก็ไม่ต้องนำมาลง หรือเลือกลงสารบัญเป็นแบบคำๆ (คำที่เป็น index โดยเฉพาะเลย) หรือลงแบบเต็มรูปแบบ ระบบยังรองรับความยาวในการลงข้อมูล อาจจะซ่อนสารบัญไว้ ถ้าต้องการดูค่อยคลิก หรือถ้าเป็นการป้องกันการเกิดปัญหาระบบไม่รองรับ เพื่อให้การค้นก็ยังสามารถทำได้ด้วย และก็ยังน่าจะแสดงสารบัญได้ทั้งหมดด้วยจะทำอย่างไรดี วิธีหนึ่งของ Library of Congress ที่เคยเห็น ก็น่าสนใจคือ ทำ link ไปหาสารบัญในหน้าอีกหน้าหนึ่งแทน หรือว่าใส่ข้อมูลสารบัญจาก 505 ไปไว้ที่ 520 (สาระสังเขป) แทน อย่างไรก็ยังอยากเห็นสารบัญ เพราะว่า ยังใช้ประโยชน์นอกจากการค้นได้ด้วยการอ่านข้อมูลจากสารบัญนั้น ไปค้นอย่างอื่น หรือเพื่อประโยชน์อย่างอื่นได้อีก