การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล (Digital Preservation) : ตัวช่วยในการอนุรักษ์

การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล (Digital Preservation) : ตัวช่วยในการอนุรักษ์ เป็นหัวข้อหนึ่งในหลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศจากตัวเล่มสู่ดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน จากการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล : ตัวช่วยในการอนุรักษ์” (จัดโดย ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ) บรรยายโดย อาจารย์ราชบดินทร์ สุวรรณคัณฑ์ นักวิชาการอาวุโส ฝ่ายสื่อวิทยาศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยอาจารย์ได้นำความรู้ในเรื่อง

  1. ทรัพยากรสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล
  2. การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล
  3. กระบวนการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล
  4. ตัวอย่างหอจดหมายเหตุดิจิทัลและพิพิธภัณฑ์ดิจิทัล
  5. การพัฒนา “คลังสารสนเทศดิจิทัล” เริ่มต้นอย่างไร?

Continue reading

หลังบ้าน หน้าบ้านของการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศ

กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัล แบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอน แต่ต้องพิจารณาก่อนว่าจะเก็บอะไรให้เป็นดิจิทัล จัดเก็บอย่างไร เข้าถึงและเผยแพร่ได้ทางไหน อย่างไร

3 ขั้นตอน ได้แก่ การแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digitization) การบริหารจัดการข้อมูล (Information Management) และ การจัดแสดง การเผยแพร่ การให้บริการ (Information Access)

กระบวนการสงวนทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล

กระบวนการสงวนทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล

ติดตามรายละเอียดได้ที่ http://lib.hcu.ac.th/files/2016/seminar-2016Sep15-16/20160916-DigitalPreservation-Rachabadin.pdf

รายการอ้างอิง

ราชบดินทร์ สุวรรณคัณฑิ. (2559). การสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล : ตัวช่วยในการอนุรักษ์. เอกสารประกอบการบรรยายการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การสงวนทรัพยากรสารสนเทศจากตัวเล่มสู่ดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน วันที่ 16 กันยายน 2559 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.