GUIDE TO WRITING ACADEMIC ARTICLES

Mr. Benjamin Irvy ผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เขียนบทความชุด GUIDE TO WRITING ACADEMIC ARTICLES  จึงขอแนะนำชุดบทความดังกล่าว โดย แต่ละตอนมีดังนี้

Plagiarism และข้อระวังในการเขียน

คุณ Benjamin Ivry ผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศ ประจำสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เขียนบทความ เรื่อง  Plagiarism and how  to avoid it  เริ่มตั้งแต่ความหมาย ทำไมถึงต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้  ตัวอย่างการเขียนอย่างไรที่เรียกว่าเป็น Plagiarism  และข้อควรหลีกเลี่ยง หรือข้อควรระวัง ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่ http://main.library.tu.ac.th/km/?p=996

Library and Information Skills / Study Skills Tutorial

จากประสบการณ์การให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุดกับกลุ่มผู้ใช้หลายๆ ระดับ การแนะนำการใช้ห้องสมุดเพื่อการศึกษา ค้นคว้า การบริการตอบคำถามเรื่องการสืบค้นแหล่งสารสนเทศ การเขียนการอ้างอิง การเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมแก่นิสิต นักศึกษา การเป็นผู้เชี่ยวชาญในการพิจาณาผลงานทางวิชาการเพื่อการเลื่อนตำแหน่ง ตลอดจนการทำวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (โดยเฉพาะงานในส่วนนี้จะเห็นคุณภาพของการทำวิทยานิพนธ์ อย่างชัดเจน ทั้งในการรวบรวมวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเด็นศึกษา การเขียนทางวิชาการ การเขียนการอ้างอิง การคัดลอกผลงานของผู้อื่น การใช้คำที่ถูกต้อง ฯลฯ) หรือการเป็นนักวิจัยร่วมกับหลายๆ บุคคล ทำให้รับรู้ได้ว่า ในกระบวนการศึกษา ค้นคว้า วิจัย การเขียนผลงานทางวิชาการ ยังขาดความตระหนักรู้ในเรื่องความสมบูรณ์ของการเขียนผลงานทางวิชาการ การทำวิทยานิพนธ์ การทำวิจัย ทำให้คิดว่า ถ้ามีการหลักสูตรเกี่ยวกับการใช้ห้องสมุดเพื่อการศึกษาค้นคว้า วิจัยและทักษะการใช้สารสนเทศให้กับทุกๆ คนแล้ว น่าจะเป็นส่วนที่บรรเทาปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้บ้าง โดยเฉพาะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลงานต่างๆ ดังกล่าว ต้องมีความแม่นยำ มีความเข้มงวดกับประเด็นต่างๆ ที่จำเป็นในการค้นคว้า วิจัยแล้ว ย่อมจะส่งผลให้เกิดคุณภาพของงานวิชาการนั้นๆ

ทราบว่า สถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยต่างประเทศ มีหลักสูตรเกี่ยวกับทักษะการใช้สารสนเทศสำหรับนักศึกษา และต้องสอบให้ผ่านตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด เป็นหลักสูตรบังคับให้นักศึกษาทุกคนต้องผ่านหลักสูตรนี้ก่อน ส่วนของไทย ไม่แน่ใจค่ะ ว่ามีหลักสูตรแบบนี้หรือไม่ จะทราบแต่ว่า มีหลักสูตรพื้นฐานในการสอนการใช้ห้องสมุด ทักษะการใช้สารสนเทศเพื่อการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ส่วนการเข้มข้นของการเรียน การทดสอบนั้นคงขึ้นอยู่กับแต่ละแห่ง

ขอยกตัวอย่าง มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ที่มีการจัดโปรแกรมการสอนทางออนไลน์ ที่ชื่อว่า ELISE (ELISE : Enabling library and information skill for everyone) ใช้สอนนักศึกษาให้ทราบถึงวิธีการใช้สารสนเทศ เป็นหลักสูตรบังคับเพิ่อเป็นช่วยให้นักศึกษาพัฒนาทักษะ ในการด้านการสืบค้น ซึ่่งแน่นอนว่าต้องมีการเรียนรู้การใช้ทรัพยากรสารสนเทศและการบริการของห้องสมุด การใช้สารสนเทศ การประเมินสารสนเทศ เพื่อการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ความเข้าใจในการพัฒนาการเขียนผลงาน เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการคัดลอกผลงาน จริยธรรมในการวิจัย ซึ่งทักษะที่นักศึกษาจะได้จากโปรแกรมนี้ ได้รับการออกแบบเพื่อช่วยในการทำงานที่ได้รับมอบหมายที่ได้จากชั้นเรียน และต่อยอดไปถึงงานทางวิขาการในอนาคต โดยนักศึกษาจะต้องสอบผ่านอย่างน้อย 80% Continue reading

ของฝากเรื่องการอ้างอิง

หลายวันก่อน ได้พบกับ อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ท่านหนึ่ง หลังจากคุยกันในหลายๆ เรื่อง ด้วยความที่อาจารย์ทราบว่าเป็นบรรณารักษ์ เลยปรารภถึงเรื่องการอ้างอิงงานทางวิชาการให้ฟัง และเหมือนจะฝากให้แนะนำหรือสอนนิสิต นักศึกษา

อาจารย์บอกว่า ได้ตามงานทางวิชาการเรื่องหนึ่ง โดยตามหาเอกสารที่ถูกใช้อ้างอิง แต่ปรากฏว่า อาจารย์ตามไปถึงต้นแหล่งตามที่อ้างนั้น กลับไม่พบ คงเป็นทำนอง คนที่อ้างนั้น ก็อ้างต่อๆ กันมา โดยไม่ได้ไปอ่านหรือดูถึงต้นแหล่งของเอกสาร หรือ primary source หรือเอกสารปฐมภูมิ เลยว่า สิ่งที่อ้างนั้น ถูกต้องหรือไม่ มีจริงหรือไม่ หรือ มีการเขียนอ้างอิงมาอย่างผิดๆ Continue reading