ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์

จากการเข้าร่วมฟังการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิสำหรับห้องสมุดและหอจดหมายเหตุ โดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา วันพุธที่ 17 ธันวาคม 2557 เวลา 09.00-17.00 น. ณ ห้องประชุมอโนมา 1 โรงแรมอโนมา กรุงเทพฯ นั้น

วลีที่พูดกันบ่อยมาก ก็คือ Three-step test ของสนธิสัญญากรุงเบิร์น (ถ้าไม่ขัดต่อ 3 ขั้นนี้ หมายความถึง ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์) ใช้กับสิทธิผูกขาดเฉพาะตัวเกี่ยวกับการทำซ้ำโดยมาตรา 9 (2) ต่อมาได้ขยายไปสู่ข้อตกลงทริปส์ (Agreement on Trade Related Aspects of Intellectual Property Rights – TRIPs Agreement) มาตรา 13, WIPO Copyright Treaty (WCT) มาตรา 10 และ WIPO Performances and Phonograms Treaty (WPPT) มาตรา 16 เป็นต้น Three-step test (ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์) หมายรวมถึง

  • กรณีเฉพาะ (certain special cases)
  • ไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์ จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ (do not conflict with a normal exploitation of a work)
  • ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร (do not unreasonably prejudice the legitimate interests of the author)

ที่ประชุมสมัชชาใหญ่ WIPO ปี 2012 เห็นชอบให้มีการหารือเพื่อจัดทำ “International legal instrument (s)” (model law, joint recommendation, treaty และ/หรือรูปแบบอื่น) โดยให้มีข้อเสนอแนะต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่ประมาณช่วงการประชุม SCCR ครั้งที่ 28 (ปี 2014) โดยมีประเด็นหารือข้อยกเว้นสำหรับห้องสมุดและหอจดหมายเหตุ คือ

  • การสงวนรักษา (Preservation)
  • สิทธิในการทำซ้ำและเก็บรักษาสำเนา (Right of reproduction and safeguarding copies)
  • การจดแจ้ง (Legal deposit)
  • การให้ยืม (Library lending)
  • การนำเข้าซ้อน (Parallel importations)
  • การใช้ข้ามพรมแดน (Cross-border uses)
  • ลิขสิทธิ์กำพร้า งานที่ถูกเก็บคืน และงานที่ไม่วางตลาดแล้ว (Orphan works, retracted and withdrawn works, and works out of commerce)
  • ข้อจำกัดความรับผิดชอบของห้องสมุดและหอจดหมายเหตุ (Limitations on liability of libraries and archives)
  • การคุ้มครองมาตรการทางเทคโนโลยี (Technological measures of protection)
  • สัญญา (Contract)
  • สิทธิในการแปล (Right to translate works)

โดยมีเอกสารในหารือ ได้แก่

 

 

เอนก นาวิกมูล รางวัลชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ ครั้งที่ 11

ได้อ่านแพรว ฉบับวันที่ 25 สิงหาคม 2557 ถึงการประกาศรางวัลชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ ครั้งที่ 11 ประจำปี 2557 โดยคณะกรรมการตัดสิน ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ในการมอบรางวัลชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ ครั้งที่ 11 ให้แก่ คุณเอนก นาวิกมูล ผู้ก่อตั้งบ้านพิพิธภัณฑ์และเจ้าของวลีติดปากที่ว่า “เก็บวันนี้ พรุ่งนี้ก็เก่า” ขออนุญาตเขียนถึงท่านด้วยความศรัทธา และชื่นชมในผลงานของท่านมาตลอด

ภายในงานรับมอบรางวัลนั้น คุณเอนก ขึ้นกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “ทำไม …ไทยไม่ทำ” สรุปความได้ว่า (กิดานันท์ : 2557)

คุณเอนกได้ฝากให้ผู้บริหารบ้านเมือง สนใจเรื่องศิลปวัฒนธรรม โดยฝากไว้ 5 ประการ

  • ประการแรก คือ เรื่องเพลงพื้นบ้าน ที่ยังไม่มีหน่วยงานรัฐบันทึกภาพเป็นวิดีโอ หรือภาพยนตร์การเล่นเพลงพื้นบ้านอย่างเป็นกิจลักษณะ สุดท้ายก็จะเหลือแต่เสียงและภาพนิ่ง
  • ประการที่สอง วัดวาอาราม ไม่มีการดูแลของเก่าให้ดีเท่าที่ควร มีการรื้อทำลายทิ้ง เจดีย์ วิหาร โบสถ์ ไปมากมาย
  • ประการที่สาม พิพิธภัณฑ์ ยังต้องการงบประมาณสนับสนุนเพื่อทำให้ดียิ่งขึ้น
  • ประการที่สี่ การเก็บภาพเก่า มีภาพเก่าในหอจดหมายเหตุจำนวนมากที่ยังไม่เคยตีพิมพ์ ภาพเหล่านี้ทำให้เราเรียนรู้ประวัติศาสตร์ได้ง่ายขึ้น
  • ประการสุดท้าย หอสมุด เป็นแหล่งเก็บหนังสือเก่า เอกสารเก่าที่มีค่า ซึ่งเป็นหลักฐานในการเชื่อมโยงมาถึงประวัติศาสตร์ยุคนี้ แต่พอนานไปเราก็ฉีกทิ้งไม่เก็บบ้าง

รายการอ้างอิง

กิดานันท์. ความสำเร็จ จาก.. พลังศรัทธา เอนก นาวิกมูล รางวัลชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ ครั้งที่ 11. แพรว 35, 840 (25 สิงหาคม 2557) : 70-71

digital archive / preservation

นั่งอ่าน และคิดไปเรื่อยๆ เกี่ยวกับการสงวนรักษา ก็เลยคิดคำ (สำคัญ) หรือ keyword ที่เกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ ได้หลายๆ คำ เช่น

  • Photo
  • Scan
  • Interview
  • Related web / Info
  • Awards
  • History
  • Sound clip
  • Front end/ facade (หน้าเว็บหรือบริการที่มีให้)
  • Multi-media
  • Multi-level material ใหญ่ เล็ก หยาบ ละเอียด เพื่อการ download หรือ ซื้อ/ขาย
  • Preview / digest of photo movie
  • Tour guide – physical / virtual / online / electronic
  • etc.

digital archive / preservation จะเป็น pillar สำคัญอันหนึ่งของมนุษยชาติ แล้วห้องสมุด หอจดหมายเหตุ ฯลฯ ก็คงต้องเป็นส่วนประกอบของเสาหลักนี้เหมือนกัน

การสงวนแบบดิจิทัล (ดิจิตอล) ดีและจำเป็น แต่ต้องทำในหลายมิติ (จากบรรดาคำต่างๆ ที่ให้ไป) เพื่อให้ครบสมบูรณ์ หรือใกล้เคียงสาระดั้งเดิม

การสงวนรักษาที่ดีต้องเอื้อต่อการดำรงอยู่และพัฒนาการของวัฒนธรรมด้วย คือ เมื่อเก็บครบแล้ว เจ้าของศาสตร์สามารถนำสาระนั้นไปพลิกแพลงต่อยอดแล้วเติมกลับมาได้

 

พระราชบัญญัติจดหมายเหตุแห่งชาติ พ.ศ. 2556

โดยที่เอกสารจดหมายเหตุเป็นข้อมูลที่แสดงและอธิบายถึงข้อเท็จจริง รวมทั้งความเป็นมาที่เกิดขึ้นในอดีต การเก็บรักษาและอนุรักษ์เอกสารดังกล่าวไว้ให้มีสภาพสมบูรณ์หรือเกิดความชำรุดเสียหายน้อยที่สุดเพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของชาติจึงมีความสำคัญ สมควรกำหนดให้มีระบบการเก็บรักษา อนุรักษ์ และการคุ้มครองเอกสารจดหมายเหตุ ตลอดจนให้มีหอจดหมายเหตุแห่งชาติเพื่อเป็นสถานที่เก็บรักษา อนุรักษ์ และให้บริการแก่ประชาชนในการศึกษา การค้นคว้าหรือการวิจัยเอกสารจดหมายเหตุ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

รายละเอียดของพระราชบัญญัติ

รายการอ้างอิง:

พระราชบัญญัติจดหมายเหตุแห่งชาติ พ.ศ. 2556.  (2556, 13 มีนาคม) เล่ม 130 ตอนที่ 23 ก หน้า 1-7.  ค้นคืนวันที่ 22 มิถุนายน 2557 จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/A/023/1.PDF

จดหมายเหตุ

ตอนนี้กำลังศึกษาเรื่องการดำเนินงานหอจดหมายเหตุ เลยขุดๆ หาข้อมูล เพื่อเสริมความรู้จากที่ตัวเองมีอยู่ แต่ก็ขอนำข้อมูลในด้านต่างๆ มาเผยแพร่ไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ (คงมีมาเพิ่มเติมอยู่เรื่อยๆ ค่ะ)

การบริหารจัดการหอจดหมายเหตุ งานจดหมายเหตุ

กรมศิลปากร. (2542). วิชาการพื้นฐานการบริหารและจัดการงานจดหมายเหตุ. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร

กรรณิกา ชีวภักดี. (2543). “หอจดหมายเหตุแหล่งข้อมูลราชการสู่สาธารณะ”. วารสารกรมประชาสัมพันธ์ 5,5 (มิ.ย.) : 29-30

จุฑาทิพย์ อังศุสิงห์. (2553). “การส่งมอบเอกสารประวัติศาสตร์ และการทำลายเอกสารราชการ”. ศิลปากร 53,2 (มี.ค.-เม.ย.) : 38-53

ชลทิชา สุทธินิรันดร์กุล. (2525). จดหมายเหตุ : การจัดและบริการ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดาวเรือง แนวทอง. (2544). “การจัดทำฐานข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุด้วยโปรแกรมจัดเก็บเอกสารอัตโนมัติ ELIB (Electronic Library on Web)”.จุลสารหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ 5(มิ.ย.-พ.ค.) : 13-14

ดาวเรือง แนวทอง. (2549). “การบริหารและดำเนินงานจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการจดหมายเหตุและเอกสาร) มหาวิทยาลัยศิลปากร

ดาวเรือง แนวทอง. (2548). “แนวทางการจัดตั้งหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย”. จุลสารหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ 8 (มิ.ย. 2547-พ.ค. 2548) : 98-108

ดาวเรือง แนวทอง. (2545). “อาคารหอจดหมายเหตุ ในภูมิภาคเขตร้อน”. โดมทัศน์ 23,2(ก.ค.-ธ.ค.) : 54-66

ทรงสรรค์ นิลกำแหง. (2517). “การบริหารงานจดหมายเหตุในประเทศไทย” วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นฤมล เจริญเผ่า. (2529). “หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย : แนวทางเพื่อการเริ่มต้น”. วารสารวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 8, 2 (ต.ค.) : 38-44

นัยนา แย้มสาขา และพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ. (2555). “การประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วย คณะทำงานเพื่อรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินและฟื้นฟูเอกสารจดหมายเหตุแห่งอาเซียน ครั้งที่ 2”. ศิลปากร 55,1(ม.ค.-ก.พ.) : 46-59

บุศยารัตน์ คู่เทียม. (2546). “สถาบันจดหมายเหตุ”. ศิลปากร 46,3 (พ.ค.-มิ.ย.) : 55-65

เบญจา รุ่งเรืองศิลป์. (2553). “งานจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย”. วารสารห้องสมุด 54,1 (ม.ค.-มิ.ย.) : 39-50

ปถพีรดี. (2546). จดหมายเหตุแห่งชาติ

ประสิทธิ์ รัตนพันธ์. (2545). “จดหมายเหตุ”. วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ 1,1 (ม.ค.-มิ.ย.) : 41-45 Continue reading